วันศุกร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2557

วันพ่อแห่งชาติ ประวัติวันพ่อแห่งชาติ

ดอกพุทธรักษา สัญลักษณ์วันพ่อแห่งชาติ

ประวัติวันพ่อแห่งชาติ จัดให้มีขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่  พ.ศ.2523 โดย คุณหญิงเนื้อทิพย์ เสมรสุต นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษา เป็นผู้ริเริ่มจัดงานวันพ่อแห่งชาติขึ้น ด้วยความจงรักภักดี และมีวัตถุประสงค์ เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือในหลวงของประชาชนชาวไทย ในฐานะ "พ่อแห่งชาติ" และ "พ่อของแผ่นดิน" ในประเทศไทย ได้กำหนดให้ วันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี เป็น วันพ่อแห่งชาติ

 ซึ่งนอกจากพระองค์จะเป็นพระราชบิดาของพระราชโอรสและพระราชธิดา ทรงทะนุบำรุงพระราชโอรสธิดาด้วยความรัก และทรงอบรมอนุศาสน์ให้ทรงเจริญวัยสมบูรณ์ และทรงบำเพ็ญคุณานุประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชน เจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทแล้ว พระองค์ยังทรงพระมหากรุณาทะนุบำรุงจัดทุกข์ผดุงสุขพสกนิกรถ้วนหน้า พระองค์ทรงเป็น “พ่อแห่งชาติ” ที่อาณาประชาราษฎร์เทิดทูนด้วยความจงรักภักดี สำนักในพระมหากรุณาธิคุณ และยึดมั่นในการเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทในการทะนุบำรุงชาติบ้านเมืองให้ วัฒนาถาวรสืบไป

วัตถุประสงค์ของการจัดงานวันพ่อแห่งชาติ ที่คณะผู้ริเริ่มกำหนดคือ

  • เพื่อเทิดทูนพระเกียรติคุณของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
  • เพื่อเทิดทูนพระคุณของพ่อ และยกย่องบทบาทของพ่อที่มีต่อครอบครัวและสังคม
  • เพื่อให้ลูกได้แสดงความกตัญญูกตเวทีต่อพ่อ
  • เพื่อให้ผู้เป็นพ่อ สำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบของตน

    ในการนี้คณะกรรมการได้จัดกิจกรรมประกาศเกียรติคุณ พ่อตัวอย่าง หรือพ่อดีเด่น ในทุกๆปี โดยมีการกำหนดคุณสมบัติของพ่อดีเด่นดังนี้

    คุณสมบัติของพ่อตัวอย่าง หรือพ่อดีเด่น

    • มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป
    • ส่งเสริมการศึกษาของบุตรธิดา
    • นับถือศาสนาโดยเคร่งครัด
    • งดเว้นอบายมุขทุกชนิด
    • อุทิศตนเพื่อประโยชน์ต่อสาธารณชนและส่วนรวม
    • มีภรรยาเพียงคนเดียว
    นอกจากนั้นทางคณะกรรมการ ยังได้แนะนำ กิจกรรมสำหรับลูกในวันพ่อ คือ
    • ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน
    • จัดกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ต่อสาธารณะ หรือบำเพ็ญกุศลเพื่อส่วนรวม
    • ทำบุญใส่บาตร เพื่ออุทิศส่วนกุศล และระลึกถึงพระคุณของพ่อ ซึ่งยังดำเนินการสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

    ในวัน ที่ 5 ธันวาคมมหาราช นอกจากจะเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลย เดช และเป็นวันพ่อแห่งชาติแล้ว ยังถือว่าว่าวันนี้ เป็น “วันชาติของไทย” อีกด้วย

    ไม่มีความคิดเห็น:

    แสดงความคิดเห็น